วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

flowchart คืออะไร

Flowchart คือ ผังงานที่ใช้รูปภาพมาแสดงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม โดยจะใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อใช้แทนรูปแบบหรือการทำงานของคำสั่งโปรแกรม สัญลักษณ์ของผังงาน มีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจข้อมูลการใช้ของแต่ละอันด้วย

ทำไมต้องเขียน flowchart

  • - ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
  • - ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
  • - ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
  • - ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้นflowchart-howto
ตัวอย่างด้านบนนี้เป็นสัญลักษณ์เบื้องต้นแบบง่ายๆ ที่เราจำเป็นต้องจำและทำความเข้าใจกับมัน

หลักการใช้สัญลักษณ์ของผังงาน (Flowchart)

1)  ผังงาน (Flowchart) ที่เขียนขึ้น ต้องมีจุดเริ่มต้น และ จุดสิ้นสุด (Start and Stop)

2)  สัญลักษณ์แต่ละรูปจะมีการเชื่อมต่อด้วย ทิศทางการทำงาน (Direction of Flow)

3)  ทิศทางการทำงานจะต้องเริ่มต้นจากจุดเริ่มต้น และจบที่จุดสิ้นสุดเท่านั้น

ที่มา http://www.tsupaman.com/2013/08/basic-how-to-flowchart

สัญลักษณ์การเขียน FlowChart และตัวอย่าง


ตัวอย่างในการเขียน FlowChart






ที่มา http://www.tsupaman.com/2013/08/basic-how-to-flowchart

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการของภาษาซี

(Ken Thompson)

ค.ศ. 1970 มีการพัฒนาภาษา โดย Ken Thompson ซึ่งทำงานบนเครื่อง DEC PDP-7 ซึ่ง ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ไม่ได้ และยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่ (ภาษาสืบทอดมาจาก ภาษา BCPL ซึ่งเขียนโดย Marth Richards)
ค.ศ. 1972 Dennis M. Ritchieและ Ken Thompson ได้สร้างภาษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ภาษา ให้ดียิ่งขึ้น ในระยะแรกภาษา ไม่เป็นที่นิยมแก่นักโปรแกรมเมอร์โดยทั่วไปนัก
ค.ศ. 1978 Brian W. Kernighan และ Dennis M. Ritchie ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า The C Programming Language และหนังสือเล่มนี้ทำให้บุคคลทั่วไปรู้จักและนิยมใช้ภาษา ในการเขียน โปรแกรมมากขึ้น
แต่เดิม ภาษา ใช้ Run บนเครื่องคอมพิวเตอร์ 8 bit ภายใต้ระบบปฏิบัติการ CP/M ของ IBM PC ซึ่งในช่วงปี ค. ศ. 1981 เป็นช่วงของการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ภาษา จึงมี บทบาทสำคัญในการนำมาใช้บนเครื่อง PC ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และมีการพัฒนาต่อมาอีกหลาย ๆ ค่าย ดังนั้นเพื่อกำหนดทิศทางการใช้ภาษา ให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน ANSI (American National Standard Institute) ได้กำหนดข้อตกลงที่เรียกว่า 3J11 เพื่อสร้างภาษา มาตรฐานขึ้นมา เรียนว่า ANSI C
ค.ศ. 1983 Bjarne Stroustrup แห่งห้องปฏิบัติการเบล (Bell Laboratories) ได้พัฒนาภาษา C++ ขึ้นรายละเอียดและความสามารถของ C++ มีส่วนขยายเพิ่มจาก ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ แนวความคิดของการเขียนโปรแกรมแบบกำหนดวัตถุเป้าหมายหรือแบบ OOP (Object Oriented Programming) ซึ่งเป็นแนวการเขียนโปรแกรมที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อนมาก มีข้อมูลที่ใช้ในโปรแกรมจำนวนมาก จึงนิยมใช้เทคนิคของการเขียนโปรแกรมแบบOOP ในการพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ในปัจจุบันนี้

ที่มา http://ptomoechaniya.blogspot.com/2012/07/blog-post.html

ประวัติภาษาซี



ภาษาซี เป็นภาษาที่ถือว่าเป็นทั้งภาษาระดับสูงและระดับต่ำ ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริดชี (Dennis Ritche) แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell Laboratories)ที่เมอร์รีฮิล มลรัฐนิวเจอร์ซี่ โดยเดนนิสได้ ใช้หลักการของภาษา บีซีพีแอล (BCPL : Basic Combine Programming Language)  ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย เคน ทอมสัน (Ken Tomson) การออกแบบและพัฒนาภาษาซีของเดนนิส ริดชี มีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมปฏิบัติการระบบยูนิกซ์ และได้ตั้งชื่อว่า ซี (C) เพราะเห็นว่า ซี (C) เป็นตัวอักษรต่อจากบี (B) ของภาษา BCPL ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ทั้งนี้เพราะ ภาษาซีมีวิธีใช้ข้อมูลและมีโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างเดียวกับภาษาของโปรแกรมระดับสูงอื่นๆ จึงถือว่าเป็นภาษาระดับสูง ในด้านที่ถือว่าภาษาซีเป็นภาษาระดับต่ำ เพราะภาษาซีมีวิธีการเข้าถึงในระดับต่ำที่สุดของฮาร์ดแวร์ ความสามารถทั้งสองด้านของภาษานี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ความสามารถระดับต่ำทำให้ภาษาซีสามารถใช้เฉพาะเครื่องได้ และความสามารถระดับสูง ทำให้ภาษาซีเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ภาษาซีสามารถสร้างรหัสภาษาเครื่องซึ่งตรงกับชนิดของข้อมูลนั้นได้เอง ทำให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีที่เขียนบนเครื่องหนึ่ง สามารถนำไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่งได้ ประกอบกับการใช้พอยน์เตอร์ในภาษาซี นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์

ที่มา http://ptomoechaniya.blogspot.com/2012/07/blog-post.html